
ประวัติความเป็นการก่อตั้ง
จังหวัดมหาสารคาม แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์และทำไร่ โดยเฉพาะการปลูกมันสำปะหลังเป็นอาชีพที่อยู่คู่สังคมไทยตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน มีการสืบทอดการทำการเกษตรจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งในอดีตการปลูกมันสำปะหลังเป็นเพียงอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ให้ครัวเรือนระหว่างรอผลผลิตพืชหลัก (นาข้าว) ซึ่งการผลิตมันสำปะหลังส่วนใหญ่จะใช้แรงงานคนในครัวเรือนเป็นหลัก และเก็บท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเก็บไว้ใช้เองในการเพาะปลูกในฤดูถัดไป
ปัจจุบันวัตถุประสงค์การปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรจังหวัดมหาสารคามได้เปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งเดิมนิยมปลูกเป็นอาชีพเสริม มาเป็นอาชีพหลักในการสร้างรายได้ให้ครัวเรือน ส่งผลให้มีการปรับลดพื้นที่การเพาะปลูกทำการเกษตรชนิดอื่นและมีการขยายและเพิ่มพื้นที่การปลูกมันสำปะหลังมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตรมาปรับใช้ เพื่อทดแทนใช้แรงงานคน รวมถึงการนำพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีมีความต้านทานโรคมีเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งสูง เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้ครัวเรือน
ปัจจุบันเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดมหาสารคามได้เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด ทำให้หัวมันสำปะหลังสดมีปริมาณมากขึ้น โรงงานแป้งมันสำปะหลังในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามไม่สามารถรองรับผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดจากเกษตรได้ เนื่องจากกำลังการผลิตของโรงงานมีจำกัด ทำให้ไม่สามารถรับซื้อผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดจากเกษตรกรได้ทั้งหมด ส่งผลให้เกษตรกรถูกกดราคาจากผู้ค้าคนกลาง กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดมหาสารคามจึงมีแนวคิดที่จะนำหัวมันสำปะหลังสดมาแปรรูปเป็นมันเส้นสะอาดเพื่อเพิ่มมูลค่า ส่งจำหน่ายให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อและโคขุนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมันเส้นสะอาด ตลาดมีความต้องการสูงและทำให้เกษตรกรนำหัวมันสำปะหลังสดมาแปรรูปเป็นมันเส้นสะอาดเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้เกิดสร้างงาน สร้างอาชีพและจ้างแรงงานในพื้นที่ จากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากที่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้นำหัวมันสำปะหลังสดมาแปรรูปเป็นมันเส้นสะอาด ทำให้พบปัญหาว่า ในช่วงฤดูฝนเกษตรกรไม่มีสถานที่ในการตากมันสำปะหลังเส้นสะอาดได้ เนื่องจากไม่มีลานตากผลผลิตประกอบกับในช่วงฤดูฝนแสงแดดไม่เพียงพอต่อการตากมันสำปะหลัง ส่งผลให้ราคามันเส้นสะอาดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อและโคนมในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ไม่มีมันเส้นสะอาดให้กับสมาชิกใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์
กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ความสำคัญกับการปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง จึงรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตมันสำปะหลังมหาสารคาม ในพื้นที่อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม เพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการผลิต มันสำปะหลังคุณภาพ มีการใช้เครื่องจักรกลเกษตร นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังและลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดีเพื่อผลิตท่อนพันธุ์สะอาด จัดทำลานรวบรวมผลผลิตมันสำปะหลังและแปรรูปมันสำปะหลังเป็นมันเส้นสะอาด รวมถึงสร้างกลไกลการเชื่อมโยงตลาดกับภาคีเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้ผลิตมันสำปะหลัง กลุ่มผู้ใช้มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง
แผนผังโครงสร้างการบริหาร
เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมันสำปะหลังหวัดมหาสารคาม
